วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศิลปวัฒนธรมประเทศมาเลเซีย


มาเลเซีย - ศิลปะ / วัฒนธรรม /ประเพณี

       ในประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่มีประชากรมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในภูมิหลังในการเข้ามาของอิสลาม โดยอาณาจักรมะละกา ดินแดนส่วนหนึ่งในประเทศมาเลเซียเป็นรัฐโบราณ รัฐแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเอาอิสลามขึ้นมาเป็นศาสนาประจำรัฐ และมีอิทธิพลภายในราชสำนักของอาณาจักรมะละกอ
ภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 1957 มาเลเซียได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของมาเลเซียให้เป็นไปตาม ระบอบของอิสลาม ความพยายามเหล่านี้เริ่มเด่นชัดในช่วงทศวรรษ 1970 หรือชื่อเรียกปรากฏการณ์ในครั้งนั้นกันอย่างทั่วไปว่า การเคลื่อนไหวในการเชิญชวน (หรือว่าปรากฏการณ์ดะวะฮ) เป็นช่วงเวลาที่การทำงาน การเผยแพร่อิสลามมีการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น จากปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ เกิดจากเหตุการณ์วิกฤติน้ำมัน จากการที่ชาติอาหรับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีมติในการลดการส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีมูลค่าที่สูงขึ้นและได้สร้างความมั่งคั่งให้ ผู้ส่งออกน้ำมัน ผลตามมาหลังจากนั้นคือ การให้การสนับสนุนจากชาติอาหรับเกี่ยวกับกิจการทางศาสนา และการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในประเทศตะวันออกกลาง

     มาเลเซียประกอบด้วยชนจากหลายเผ่าพันธุ์ (พหุสังคม) รวมกันอยู่ บนแหลมมลายูมากว่า 1,000 ปี ประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ ชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย อาศัยอยู่บนแหลมมลายู ส่วนชนพื้นเมืองอื่นๆ เช่น อิบัน (Ibans) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐซาราวัค และคาดาซัน (Kadazans) อาศัยอยู่ในรัฐซาบาห์ ด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติภายในประเทศ ทำให้เกิดการหล่อหลอมของวัฒนธรรมและส่งผลต่อ การดำรงชีวิตของชาวมาเลเซีย จึงเกิดประเพณีที่สำคัญมากมาย อาทิเช่น
 
 
การรำซาบิน
 

การรำซาบิน (Zapin) :

เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธพลมาจาก ดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิง ชาย จำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบีน และ กลอง เล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว

เทศกาลทาเดา คาอามาตัน
 

เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) :

เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย 


ชุดประจำชาติ : มาเลเซีย

 
 
ชุดประจำชาติ มาเลเซีย
 
malaysia flagหญิง :
สวมเสื้อ "บาราจูกุง" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาว ที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ "คะบาย่า" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวสีสันสดในและมีฉลุดอกไม้ ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมีผ้ากคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะ หรือร้องเท้าส้นสูงแบบสากล
malaysia flagชาย :
สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงขายาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด "บาจูมลายู" ซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมี่เรียกว่า "ซอเกาะ" สวมรองเท้าหนังแบบสากล

อาหารประจำชาติ : มาเลเซีย

 
 
อาหารประจำชาติ มาเลเซีย (นาซิ เลอมัก)
 
malaysia flagนาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) :
เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร พร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า

ดอกไม้ประจำชาติ : มาเลเซีย

 
 
ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย ดอกบุหงารายา (Bunga Raya)
 
malaysia flagดอกไม้ประจำชาติ : ดอกบุหงารายา (Bunga Raya)

http://www.asean-info.com/asean_members/malaysia_culture.html

 

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลาว - ศิลปะ / วัฒนธรรม /ประเพณี


                     lao flag   ลาว - ศิลปะ / วัฒนธรรม / ประเพณี lao flag

 


      ลาวเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า “ประชาชนบรรดาเผ่า” สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
    1.ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
    2.ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
   3.ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
 
        ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนา ประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือ ผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนา คริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วน มากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อย โดยเป็นกลุ่มจีนฮ่อ ที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสาย เอเชียใต้ และจาม ในเวียงจันทน์
ด้านวัฒนธรรม มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอีสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าว ที่ว่า “มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่แลลายจกอยู่ที่นั้น” ลาวมีประเพณีทาง พระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวง เวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น พุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ
 
สำหรับดนตรีลาวนั้นมี "แคน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือ วงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไป ตามท้องถิ่น และมีรำ วงบัดสลบ (Paslop Dance) ซึ่งเป็นการเต้น ท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อม กันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ
 
 

รำวงบัดสลบ

 

วัฒนธรรมของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทางภาคอีสานของไทยมาก ในด้านดนตรีแคน ถือเป็นเครื่องดนตรีประจาชาติ โดยมีวงดนตรีคือ วงหมอลา และมี ราวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวในงานมงคลต่างๆ


 
 
 
 

การตักบาตรข้าวเหนียว

 
 



ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสารับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า “ถวายจังหัน” โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สาหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน
 


 

 

วิถียามเช้าของชาวหลวงพระบางที่ยังคงงดงามมีเอกลักษณ์และเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ก็เห็นจะไม่มีอะไรเกิน “การตักบาตรข้าวเหนียว” ที่ในทุกๆเช้าของแต่ละวัน ชาวหลวงพระบางผู้แนบแน่นในพระพุทธศาสนาจะตื่นขึ้นมาแต่เช้าเพื่อเตรียมข้าวของไว้สาหรับตักบาตรข้าวเหนียว

หลังจากนั้นพอฟ้าเริ่มสาง เสียงตุ๊มๆๆ..ของ “กะลอ” (เครื่องเคาะของลาวมีลักษณะคล้ายกลอง) ดังขึ้นจากหลายๆวัด บรรดาญาติโยมต่างก็จะหอบหิ้วข้าวของมานั่งอย่างสงบรอพระออกบิณฑบาต ซึ่งหากเป็นวันพระจะมีเหล่าฆราวาสมารอตักบาตรข้าวเหนียวเป็นจานวนมาก แต่หากเป็นวันปกติก็จะมีอยู่พอประมาณ

พอสิ้นเสียงกะลอได้ไม่นาน เหล่าพระสงฆ์นับร้อยรูปก็จะเดินเรียงแถวยาวเหยียดมาให้ญาติโยมได้ใส่บาตรกัน จนถ้วนทั่ว ภาพเหล่านี้คือวิถีปกติของชาวหลวงพระบาง แต่สาหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ การตักบาตรข้าวเหนียวคือภาพอันชวนตื่นตาตื่นใจ เป็นไฮไลท์ของการท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ด้วยเหตุนี้เมื่อ “อุปสงค์” การตักบาตรข้าวเหนียวของนักท่องเที่ยวมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทาให้ชาวลาวหลายๆ คนปิ๊งไอเดียนาข้าวเหนียวใส่กะติ๊บออกมาเร่ขายให้นักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการตักบาตรข้าวเหนียว


การตักบาตรข้าวเหนียวของหลวงพระบางยุคใหม่ในวันนี้ จึงมีการผสมผสานกันระหว่าง ภาพพระ-เณรที่ออกบิณฑบาตเป็นแถวยาวเหยียด ภาพญาติโยมชาวหลวงพระบางในชุดพื้นเมืองนั่งใส่บาตรอย่างนอบน้อมแต่ว่องไวในการจกข้าวเหนียวลงบาตร ภาพนักท่องเที่ยวร่วมตักบาตรข้าวเหนียวด้วยความศรัทธาผสมความตื่นเต้นและอยากลอง ภาพนักท่องเที่ยวมาตั้งกล้องรอบันทึกภาพตักบาตรข้าวเหนียว และภาพแม่ค้าหาบกะติ๊บข้าวเหนียวเร่ขายให้กับนักท่องเที่ยวที่นับวันยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ


 

ชุดประจำชาติ:ลาว

 




 lao flagหญิง :
     นุ่งผ้าซิ่นทอลาย ใส่เสื้อแขนยาว ทรงกระบอก และมีสไบเฉียงพาดไหล่
lao flagชาย :
     นุ่งโจงกระเบน และสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด

 

อาหารประจำชาติ:ลาว

 

 



ซุปไก่ (Chicken Soup) :
เป็นอาหารยอดนิยม มีส่วนผสมสำคัญได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาตเปรี้ยวๆ เผ็ดๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว
 

 ดอกไม้ประจำชาติ:ลาว

 


ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกจำปาลาว (Champa) หรือดอกลีลาวดี